การส่งออกสินค้าของประเทศไทย ไปยังประเทศกัมพูชา

การส่งออกสินค้าไทย กัมพูชา

การส่งออกสินค้าไทยไปประเทศกัมพูชา ยิ่งต่างประเทศมีความต้องการมากเท่าไหร่ ผลผลิตของประเทศไทย ยิ่งส่งออกได้มากเท่านั้นถือว่าเป็นการทำผลกำไรได้ดีมากทีเดียว เพราะประเทศไทยสามารถ ส่งออกสินค้าไปยังประเทศกัมพูชา ได้มากถึงร้อยละ 70-80 เปอร์เซ็น เลยทีเดียว ใน1สัปดาห์ จะมีวันขนส่งสินค้า 1-2 วัน อาทิเช่น จะมีการขนส่งสินค้าเข้าประเทศกัมพูชา ทุกวัน พุธและวันพฤหัสบดี ของทุกๆสัปดาห์ เป็นต้น

"นี่คือการขนส่งสินค้าไปยังประเทศกัมพูชา ในแต่ละสัปดาห์มีรถขนส่งสินค้า ส่งออกถึง 100-200 คัน ไม่นับสินค้าทั้งหมดบนรถบรรทุก จึงเป็นที่มาของรายได้เข้าประเทศไทย ได้มาก ถึงมากมหาศาล"

การส่งออกสินค้านี้ มีตั้งแต่ รถเข็นของไปจนถึงรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ จำแนกเป็นประเภทผู้รับสินค้า ใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้า ก็อาจจะเป็นผู้รับสินค้ารายใหญ่ ตั้งแต่ กิจการร้านค้าส่ง ไปจนถึง ห้างสรรพสินค้า ส่วนใหญ่เป็น สินค้าเครื่องใช้ อุปกรณ์การเกษตร รถมอเตอร์ไซด์ไปจนถึงรถยนต์ส่วนบุคคล

การส่งออกสินค้าไทย กัมพูชา

จะบอกก่อนนะคะ..

"ประเภทยานพาหนะของทางประเทศกัมพูชาจะไม่มีการซื้อแบบผ่อนจ่าย ทั้งมอเตอร์ไซด์ และรถยนต์ส่วนบุคคล ที่ประเทศนี้จะมีการซื้อ-ขาย แบบจ่ายเงินสดทั้งหมดเท่านั้น เพราะฉะนั้นออเดอร์สินค้าประเภทยานพาหนะ จึงมีเฉพาะออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง จะมีการสั่งไปเผื่อไว้แค่เป็นตัวอย่างสินค้า ไม่มีการเผื่อสินค้าเพื่อขาย แต่ถ้าจะมีเผื่อ ก็จะมีเฉพาะร้านที่ใหญ่จริงๆ อย่างเช่น โชว์รูมรถมอเตอร์ไซด์ , โชว์รูมรถยนต์ส่วนบุคคล ส่วนที่เป็นตามร้านหรือตามเต้น จะไม่มีการเผื่อสินค้าแต่อย่างใด"

ถ้าเป็นการขนส่งหรือส่งออกเครื่องอุปโภค บริโภค ส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งแบบรถเข็นทั่วไป คันเล็กไปถึงคันใหญ่ เป็นการขนส่งแบบแรงงานชาวกัมพูชาเป็นผู้เข็น อย่างเช่น อาหารสด จำพวก ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ปลา เป็นต้น

อาหารจำพวกนี้ จะใช้รถเข็นของชาวกัมพูชา จะไม่ใช้รถบรรทุกเนื่องจาก อาหารเหล่านี้ถ้าหากว่าขายไม่หมดจะเกิดการเน่าเสียได้ จึงต้องบรรทุกมาไม่มากมายเกินไป และเพื่อให้อาหารเหล่านี้ดูใหม่และสด น่ารับประทาน น่าซื้อ ในทุกๆวัน จึงจำเป็นต้องนำเข้าสินให้ประเภทผักสด ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ในทุกๆวัน และลดการเสียผลประโยชน์หรือการขาดทุนในการขายสินค้าประเภทอาหาร เพราะถ้าในแต่ละวัน หากขายอาหารเหล่านี้ไม่หมด อาหารเหล่านี้จะเน่าเสียได้